ลอดช่องสองสี ฟักทองใบเตย แตงไทย น้ำกะทิอบสดชื่น
ลอดช่องสองสี (Cendol) รสรินทร์จะชวนเปิดตำราทำเมนูขนมไทย นั่นคือลอดช่องสองสีกะทิสด รสชาติหอม หวาน ชื่นใจ ทานคู่ แตงไทย กะทิสดๆ รับรองหากใครได้ชิม ต้องยกนิ้วให้ เพื่อนๆสามารถทำตามได้เลยค่ะ วิธีทำเป็นขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แอดรินรับประกันความพอใจค่ะ ทำแล้วอร่อยมาก ลอดช่องสองสี เส้นสด เหนียวนุ่ม หวานเย็นชื่นใจกันถ้วนหน้า ทานกับกะทิสดๆ แตงไทยหวานหอมเย็นชื่นใจ เกริ่นความน่ากินมาซักพัก ไปลุยกันเลยค่ะ มาทำลอดช่องสองสีกะทิสดกัน ไปเปิดตำนานความอร่อยกันค่ะ มาค่ะ ดาวน์โหลดสูตร มือขวาควงตะหลิว มือซ้ายจับกระทะ สาวเท้าก้าวเข้าครัวไปกับเมนูลอดช่องสองสีกะทิสดกันเลยค่ะ
สูตรลอดช่องสองสี |
ส่วนผสมน้ำกะทิ |
|
|
หัวกะทิ |
1000 |
กรัม |
น้ำตาลตโนด |
650 |
กรัม |
เกลือ |
1 |
ช้อนชา |
ใบเตย |
1 |
มัด |
เทียนอบขนม (สำหรับเพิ่มความหอม) |
|
|
ส่วนผสมแป้งฟักทอง |
|
|
ฟักทอง |
300 |
กรัม |
แป้งข้าวเจ้า |
100 |
กรัม |
แป้งมัน |
60 |
กรัม |
แป้งถั่วเขียว |
30 |
กรัม |
น้ำปูนใส |
600 |
กรัม |
ส่วนผสมแป้งใบเตย |
|
|
ใบเตย |
18 |
ใบ |
น้ำปูนใส |
950 |
กรัม |
แป้งข้าวเจ้า |
120 |
กรัม |
แป้งมัน |
50 |
กรัม |
แป้งถั่วเขียว |
30 |
กรัม |
แตงไทยหั่นเป็นชิ้น(ตามชอบ) |
|
|
วิธีทำลอดช่องสองสี |
– วิธีทำน้ำกะทิสด |
ในกระทะ ตั้งไฟอ่อน ใส่หัวกะทิ น้ำตาลตโนด เกลือ และใบเตยลงไป 1 มัด |
ค่อยๆ คนจนน้ำตาลตโนดละลายดี กะทิเดือด ยกลงทันทีอย่าให้แตกมัน พักให้เย็น |
กรองเอาใบเตยออก ใส่หม้ออะลูมิเนียม อบควันเทียน 3 ครั้ง (ครั้งละ 30 นาที) |
– วิธีทำแป้งลอดช่องฟักทอง |
นำฟักทองลงต้มจนสุก บด หรือปั่นให้ละเอียด |
ในอ่างผสม ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน แป้งถั่วเขียว และฟักทอง นวดให้เข้ากัน |
ผสมน้ำปูนใสลงในแป้ง ผสมให้ละลายละลายเข้ากัน แป้งคลาย |
นำลงเคี่ยวในกระทะ ไฟอ่อน จนแป้งสุก และเนื้อใส |
ใส่พิมพ์ลอดช่อง ได้ลอดช่องฟักทองสีเหลืองสด |
– วิธีทำแป้งลอดช่องใบเตย |
ปั่นใบเตย และน้ำปูนใส กรองให้ได้แต่น้ำใบเตยเข้มข้น |
ในอ่างผสม ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน แป้งถั่วเขียว และน้ำใบเตย นวดให้เข้ากัน |
นำลงเคี่ยวในกระทะ ไฟอ่อน จนแป้งสุก และเนื้อใส |
ใส่พิมพ์ลอดช่อง ได้ลอดช่องใบเตยสีเขียวสดใส |
– วิธีการจัดเสิร์ฟลอดช่องสองสี |
หั่นแตงไทยเป็นชิ้นๆ พอดีคำ |
ตักแป้งลอดช่องใบเตย และ ลอดช่องฟักทองใส่ชาม ตักกะทิสดลงไป ตามด้วยแตงไทย |
เพิ่มเติมความสดชื่นด้วยน้ำแข็งทุบ พร้อมเสิร์ฟความสดชื่น ทานให้อร่อยนะคะ |
เคล็ดลับรสรินทร์
- ปล่อยให้แป้งจมลงไปในน้ำเอง รอประมาณ 1 นาที โดยไม่ต้องคน เพื่อให้มั่นใจได้ว่า แป้งจะได้ไม่จับตัวเป็นก้อน และละลายเข้ากับน้ำทั้งหมด
- สูตรนี้ใส่แป้งถั่วเขียว เพื่อทำให้ลอดช่องมีเนื้อเหนียว นุ่ม และสีสวยมากขึ้น เก็บไว้กินนาน ๆ จะไม่คืนตัว
- เส้นลอดช่องที่พักไว้ในชาม ควรผสมด้วยน้ำเชื่อมที่ต้มทิ้งไว้ เพราะน้ำเชื่อมจะไม่ทำให้ลอดช่องดูดน้ำเข้าไปเพิ่ม ทำให้เส้นไม่อืดและเหนียวหนึบนาน
ขอขอบคุณข้อมูล – คุณ กับข้าวกับปลาโอ PlaoCooking จาก youtube
วัตถุดิบลอดช่องสองสี |
หัวกะทิ |
กะทิสด ได้จากการขูดมะพร้าวแล้วนำมาคั้นจะได้ 2 ส่วนคือ หัวกะทิ หรือส่วนที่เข้มข้น หางกะทิ คือส่วนที่เจือจาง นิยมทำจากมะพร้าวขูดขาว คือมะพร้าวที่กะเทาะเนื้อจากกะลา แล้วปอกเปลือกส่วนที่เป็นสีน้ำตาลออก เมื่อนำไปขูดจะได้มะพร้าวที่ขาวสะอาด กราเลือกซื้อควรซื้อร้านที่ดี เพื่อให้ได้กะทิสดใหม่มีกลิ่นหอม ถ้ามะพร้าวเก่าจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ประกอบอาหารจะมีกลิ่นและรสไม่่ดี |
น้ำตาลตโนด |
น้ำตาลโตนด ได้จากงวงของต้นตาลที่ให้น้ำตาลสด นำไปเคี่ยวแล้วหยอดเป็นก้อน น้ำตาลโตนดมีกลื่นหอม รสหวานนุ่มนวล ของแท้จะมีลักษณะเหนียวนุ่ม ถ้าแข็งจะมีการเติมน้ำตาลทราย ราคาสูงกว่าน้ำตาลมะพร้าว |
ใบเตย |
ใบเตย ลักษณะใบยาว เรียว มีสีเขียวเข้ม มีกลิ่นหอม ใบเตยมี 2 ชนิดคือเตยหอม และเตยธรรมดา ใบเตยหอมจะมีขนาดเล็กกว่าเตยทั่วไป ก่อนนำไปใช้ให้ล้างให้สะอาด แล้วหั่นหยาบจะโขลก หรือปั่นให้ละเอียดก็ได้ แล้วนำมากรอง เอากากออกได้น้ำใบเตยสีเขียวเข้ม |
เทียนอบขนม |
เทียนอบขนม ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของขนมไทย มีส่วนผสมคร่าวๆ คือ ขี้ผึ้งแท้ ผงกำยาน ผงไม้จันทน์หอม ผงต้นชะลูด (ใช้เพิ่มปริมาณเนื้อเทียน) น้ำมันหอมระเหยกลิ่นต่างๆ นำมาคลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน ปั้นด้วยมือแล้วนำมาชุบไส้เทียน คลึงเป็นรูปทรงกระบอกโค้งเพื่อให้ใช้งานได้ง่าย วิธีใช้ที่ถูกต้องนั้นต้องใช้ภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด ควรเป็นแก้ว กระเบื้อง หรือโลหะ ไม่ใช่พลาสติก เพราะอาจทำให้ขนมมีกลิ่นพลาสติกหรือพลาสติกอาจละลายจนเป็นอันตรายต่อผู้กินได้ |
ฟักทอง |
ฟักทอง ป็นพืชที่มีกากใยสูง และอุดมไปด้วยวิตามินเอ และสารต่อต้านการผสมกันกับออกซิเจนและเกลือแร่ และมี “กรดโพรไพโอนิก” วิตามินเอ ดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน โดยงานวิจัยที่ชี้ว่าวิตามินเอสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง และช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อ ในทางกลับกัน ผู้ที่ขาดวิตามินเออาจมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ |
แป้งข้าวเจ้า |
แป้งข้าวเจ้า หรือ แป้งญวน เป็นแป้งที่ทำมาจากข้าว เป็นแป้งที่ใช้มากที่สุดในการทำขนมไทย ในสมัยก่อนใช้แป้งสดที่โม่จากข้าวสารแช่น้ำค้างคืน นำแป้งที่ได้จากการโม่มาทับน้ำออก ก็จะได้แป้งที่พร้อมนำไปทำขนม ปัจจุบันนิยมใช้แป้งแห้งที่ผลิตจากโรงงาน เนื้อแป้งข้าวเจ้ามีลักษณะสากมือ ถ้าเป็นข้าวใหม่จะมีกลิ่นหอมดูดน้ำได้น้อย ถ้าใช้แป้งข้าวเจ้าสดจะต้องลดน้ำ จากสูตรแป้งข้าวเจ้าสำเร็จรูป |
แป้งมัน |
แป้งมันสำปะหลัง ทำมาจากหัวมันสำปะหลัง มีลักษณะเป็นผงสีขาว เวลาจับแป้งจะเนียน ลื่นมือ เมื่อทำให้สุกจะมีลักษณะเหนียวใส นิยมนำมาทำให้ส่วนผสมข้นหนืด หรือผสมกับแป้งชนิดอื่นทำให้มีคุณสมบัติ เหนียวนุ่ม |
แป้งถั่วเขียว |
แป้งถั่วเขียว หรือแป้งซ่าหรี่ม เป็นแป้งที่สกัดมาจากถั่วเขียว เมื่อทำให้สุกจะมีลักษณะค่อนข้างใส เมื่อพักตัวให้เย็นจะจับตัวแข็งเป็นก้อน อยู่ตัว ค่อนข้าวเหนียว เหมาะกับอาหารที่ต้องการความใสอยู่ตัว |
น้ำปูนใส |
น้ำปูนใส ช่วยปรับปรุงเนื้อสัมผัสของอาหาร ไม่ว่าจะเป็นผัก แป้ง ขนม ของหวาน หรือเนื้อสัตว์ ให้มีความแข็งหรือความกรอบเพิ่มขึ้น โครงสร้างของอาหารยึดเกาะกันได้ดีขึ้น เนื้ออาหารไม่แฉะหรือติดมือ อัตรส่วนในการทำน้ำปูนใส ใช้ปูนแดง 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ลิตร |
ใบเตย |
ใบเตย ลักษณะใบยาว เรียว มีสีเขียวเข้ม มีกลิ่นหอม ใบเตยมี 2 ชนิดคือเตยหอม และเตยธรรมดา ใบเตยหอมจะมีขนาดเล็กกว่าเตยทั่วไป ก่อนนำไปใช้ให้ล้างให้สะอาด แล้วหั่นหยาบจะโขลก หรือปั่นให้ละเอียดก็ได้ แล้วนำมากรอง เอากากออกได้น้ำใบเตยสีเขียวเข้ม |
ประวัติลอดช่องสองสี
ลอดช่อง คือ ขนมพื้นบ้านที่ใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นวัตถุดิบ เป็นที่นิยมแพร่หลายในไทยชนิดหนึ่ง มีจุดกำเนิดร่วมในทั่วทั้ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศ อินโดนีเซียโดยอินโดนีเซีย มาเลเซียเรียกว่า เจ็นดล อีกทั้งแพร่หลายในพม่า เวียดนาม และสิงคโปร์
ในประเทศไทย เป็นขนมไทยแท้โบราณชนิดดั้งเดิม โดยที่ใครๆพากันคิดว่ามันคือขนม ที่มาจากเกาะสิงคโปร์นู้นแต่แท้จริงแล้วต้นกำเนิดไม่ได้มาจากประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยเรานี่เอง ที่ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาปั้น และนวดให้เหนียว รับประทานกับกะทิสด และน้ำเชื่อม น้ำแข็งป่น ก็เพิ่มความสดชื่นให้กับผู้บริโภคได้แล้ว แต่หลายคนคงสงสัยว่าแล้วคำว่า สิงคโปร์ล่ะ มาจากไหน ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันจนติดปาก ถึงบริเวณที่ตั้งร้านนี้ ที่เป็นเจ้าแรก ในการทำ “ลอดช่องสิงคโปร์” นั่นเอง หากย้อนไปเมื่อประมาณ 60 ปีก่อน ร้านนี้บังเอิญไปตั้งอยู่บริเวณหน้าโรงภาพยนต์สิงคโปร์ (เดิม) หรือโรงหนังเฉลิมบุรี บนถนนเยาวราช และเมื่อลูกค้าจะไปทานก็มักจะเรียกว่า “ไปทานลอดช่องหน้าโรงหนังสิงคโปร์” สุดท้ายก็เรียกให้สั้นลงว่า “ลอดช่องสิงคโปร์” แทน
อยากรู้สูตรเด็ดเคล็ดลับรสรินทร์ตอนใหม่ๆ อย่าลืมกดไลค์แฟนเพจรสรินทร์ นะคะ
รับรองว่า คุณจะทำอาหารได้อร่อยจนคนทั้งบ้านชมไม่ขาดปากเลยค่ะ
ขอบคุณที่ติดตามเพจ รสรินทร์ Rosalyn นะคะ
Facebook: RosalynTH
ดูสูตรเด็ดอื่นๆ หน้าหลักรสรินทร์[vc_row][vc_column][vc_single_image image=”1894″ img_size=”full” alignment=”center” onclick=”custom_link” link=”https://store.line.me/stickershop/product/5353487/en”][/vc_column][/vc_row]
Views: 11,819