ขนมใส่ไส้ประยุกต์ สวยอร่อยทำง่ายเครื่องไม่เยอะ
ขนมใส่ไส้ประยุกต์(Steamed coconut custard) รสรินทร์จะนำเสนอเมนูขนมไทย นั่นคือขนมใส่ไส้ประยุกต์ รสชาติหวานละมุนลิ้น แถมทำไม่ยาก สวยอร่อยทำง่ายเครื่องไม่เยอะ อร่อยจนคงทำ มงลงแน่นอน เพื่อนๆสามารถ ทำตามได้ง่ายๆเลยค่ะ ความอร่อยของสูตรนี้เอาไปเลยค่ะ ระดับมิชิลินสตาร์ ขนมใส่ไส้เป็นขนมไทยที่นิยมใช้ในพิธีขันหมาก มีไส้กระฉีกอยู่ตรงกลาง ปกติจะห่อด้วยใบตองให้เป็นทรงสูงโปร่ง แล้วคาดด้วยเตี่ยวใบมะพร้าว สูตรนี้ประยุกต์วิธีการนำเสนอให้มีรูปแบบที่สะดวก รับประทานง่ายๆ ไม่พูดพร่ำฮัมเพลง ไปลองทำกันเลยค่ะ มาทำขนมใส่ไส้ประยุกต์กัน แค่นึกถึงเมนูนี้ น้ำลายก็ไหลแล้ว มาค่ะ ดาวน์โหลดสูตร มือขวาควงตะหลิว มือซ้ายจับกระทะ สาวเท้าก้าวเข้าครัวไปกับเมนูขนมใส่ไส้ประยุกต์กันเลยค่ะ
สูตรขนมใส่ไส้ประยุกต์ |
อัตราส่วนไส้กระฉีก |
|
|
มะพร้าวทึนทึกขูด |
200 |
กรัม |
น้ำตาลมะพร้าว |
200 |
กรัม |
เทียนอบขนม (ถ้ามี) |
|
|
อัตราส่วนแป้งห้อไส้ |
|
|
แป้งข้าวเหนียว |
100 |
กรัม |
กะทิ |
60 |
กรัม |
น้ำใบเตย |
2-3 |
ช้อนโต๊ะ |
น้ำดอกอัญชัญ |
2-3 |
ช้อนโต๊ะ |
อัตราส่วนกะทิ |
|
|
หัวกะทิ |
250 |
กรัม |
น้ำตาลทราย |
20 |
กรัม |
เกลือ |
3 |
กรัม |
แป้งถั่วเขียว |
5 |
กรัม |
แป้งข้าวเจ้า |
25 |
กรัม |
น้ำเปล่า |
50 |
กรัม |
วิธีทำขนมใส่ไส้ประยุกต์ |
– วิธีทำไส้กระฉีก |
ใส่น้ำตาลปี๊บ ลงในกระทะเปิดไฟอ่อน ค่อยๆคนจะน้ำตาลละลาย คนจนเป็นเหนียวข้น |
ใส่มะพร้าวขูดลงไป ผัดไปเรื่อยๆจนกว่าไส้จะเริ่มแห้งดี สามมารถปั้นเป็นก้อนได้ |
ปั้นไส้เป็นก้อนกลมๆ โดยก่อนปั้นใช้มือจุ่มน้ำจะทำให้ไส้ปั้นง่ายไม่ติดมือ |
– วิธีทำแป้งห่อไส้ |
ในอ่างผสม ผสมแป้งข้าวเจ้า หัวกะทิ นำใบเตย หรือน้ำอัญชันเข้าด้วยกัน |
นวดให้เข้ากันดีจนแป้งไม่ติดมือ นำผ้าขาวชุบน้ำหมาดพักแป้งไว้สักครู่ทั้งแป้งใบเตย และอัญชัน |
– การห่อและต้มแป้ง |
แผ่แป้งให้บาง นำไส้ที่เตรียมไว้วางตรงกลาง ห่อแป้งให้มิด ทำจนหมดแป้ง หรือหมดไส้ |
ต้นน้ำด้วยไฟแรงโดยใส่ใบเตยลงไปมัดเล็กๆ พอน้ำเดือดหลังจากนั้นหรี่ไปกลางค่อนอ่อน |
นำแป้งลงไปต้ม จนกว่าแป้งจะสุก โดยถ้าสุกแป้งจะลอบขึ้นมา |
ตักขึ้นพักไว้ให้เย็น จะได้ตัวแป้งไส้กระฉีก |
– วิธีทำกะทิหยอด |
เทส่วนผสมของกะทิลงในกระทะ โดยยังไม่ต้องเปิดไฟ ใช้ไม้พายคนผสมส่วนประสมทุกอย่างให้เข้ากันดี |
เปิดไฟอ่อนในการเคี่ยว คนตลอดเวลา เมื่อแป้งเริ่มสุกกะทิจะข้น ให้รีบปิดไฟยกขึ้น |
– หยอดลงพิมพ์ |
นำพิมพ์ขนมพลาสติกออกมาเรียง ตักกระทิอุ่นๆลงใยพิมพ์ สักราวๆครึ่งหนึ่ง หรือสามารถใช้ถุงบีบหยอดได้ |
จากนั้นนำแป้งที่ต้มไว้จากนั้นมาวางตรงกลาง จะได้ขนมใส่ไส้ประยุกต์พร้อมเสิรฟ ทานให้อร่อยนะคะ |
เคล็ดลับรสรินทร์
- แป้งห่อไส้มะพร้าว สามารถประยุกต์ให้มีสีที่หลากหลาย โดยหากต้องการให้มีสีเหลือง สามารถใช้เนื้อตาลโตนดตามสูตร หรือจะใช้เนื้อฟักทองไปบดและปั่น ให้เป็นน้ำ แล้วมาผสมกับแป้งก็ได้ สำหรับสีอื่น ๆ เช่น สีเขียว สีม่วง สามารถใช้สีจากธรรมชาติเช่น สีเขียว จากน้ำใบเตย สีม่วง จากน้ำอัญชันก็ได้
- สำหรับการห่อขนมใส่ไส้ หากไม่สามารถหาใบตองได้ สามารถบรรจุลงในถ้วยพลาสติกขนาดเล็กแทนก็ได้ โดยเพื่อความสวยงาม อาจนำเนื้อกะทิใส่พิมพ์สำหรับบีบ บีบลงใส่ถ้วยก่อน จากนั้น ค่อยนำเนื้อไส้มะพร้าวก้อนกลม วางลงตรงกลาง
- ระหว่างปั้นไส้มะพร้าว เพื่อไม่ให้ติดมือ ให้เอานิ้วจุ่มน้ำเป็นระยะ จะช่วยให้ปั้นง่ายขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูล – คุณ แม่ซี น้องมดดี้ จาก Youtube
วัตถุดิบขนมใส่ไส้ประยุกต์ |
มะพร้าวทึนทึกขูด |
มะพร้าวทึนทึก คือมะพร้าวกลางอ่อนกลางแก่ มีเปลือกสีค่อนข้างขาว ควรเลือกกะลาที่มีสีน้ำตาลอ่อน จะทำให้ได้เนื้อมะพร้าวที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม หวาน รับประทานอร่อย และจะต้องขูดด้วยมือแมว นอกจากนี้ยังทำมะพร้าวขูด โดนการนำมาสับให้ละเอียดก่อนนำไปใช้ |
น้ำตาลมะพร้าว |
น้ำตาลมะพร้าว ได้จากจั่นมะพร้าว มีลักษณะเหลว มีสีเหลืองอมน้ำตาล มีกลิ่นหอม รสหวานนุ่ม น้ำตาลมะพร้าวที่ทำเป็นก้อนเรียกว่า น้ำตาลปึก ถ้าทำน้ำตาลใส่ปี๊บเรียกว่าน้ำตาลปี๊บ หากใช้ไม่หมดให้เก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดสนิท |
เทียนอบขนม |
เทียนอบขนม ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของขนมไทย มีส่วนผสมคร่าวๆ คือ ขี้ผึ้งแท้ ผงกำยาน ผงไม้จันทน์หอม ผงต้นชะลูด (ใช้เพิ่มปริมาณเนื้อเทียน) น้ำมันหอมระเหยกลิ่นต่างๆ นำมาคลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน ปั้นด้วยมือแล้วนำมาชุบไส้เทียน คลึงเป็นรูปทรงกระบอกโค้งเพื่อให้ใช้งานได้ง่าย วิธีใช้ที่ถูกต้องนั้นต้องใช้ภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด ควรเป็นแก้ว กระเบื้อง หรือโลหะ ไม่ใช่พลาสติก เพราะอาจทำให้ขนมมีกลิ่นพลาสติกหรือพลาสติกอาจละลายจนเป็นอันตรายต่อผู้กินได้ |
แป้งข้าวเหนียว |
แป้งข้าวเหนียว เป็นแป้งที่ทำมาจากเมล็ดข้าวเหนียว มีลักษณะเป็นผงสีขาว จับแล้วสากมือเล็กน้อย ลักษณะของขนมทำจากแป้งชนิดนี้จะเหนียวนุ่ม มี 2 ลักษณะคือ แป้งข้าวเหนียวสด และแป้งแห้ง แป้งที่เป็นที่นิยมปัจจุบันคือแป้งแบบแห้ง สามารถหาซื้อได้ทั่วไป เก็บไว้ได้นาน ควรเลือกซื้อแป้งที่ไม่มีกลิ่นอับ และมอด บรรจุหีบห่อสะอาดเรียบร้อย ไม่มีรอยแตกแมลงกัดแทะ |
กะทิ |
กะทิสด ได้จากการขูดมะพร้าวแล้วนำมาคั้นจะได้ 2 ส่วนคือ หัวกะทิ หรือส่วนที่เข้มข้น หางกะทิ คือส่วนที่เจือจาง นิยมทำจากมะพร้าวขูดขาว คือมะพร้าวที่กะเทาะเนื้อจากกะลา แล้วปอกเปลือกส่วนที่เป็นสีน้ำตาลออก เมื่อนำไปขูดจะได้มะพร้าวที่ขาวสะอาด กราเลือกซื้อควรซื้อร้านที่ดี เพื่อให้ได้กะทิสดใหม่มีกลิ่นหอม ถ้ามะพร้าวเก่าจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ประกอบอาหารจะมีกลิ่นและรสไม่่ดี |
น้ำใบเตย |
ใบเตย ลักษณะใบยาว เรียว มีสีเขียวเข้ม มีกลิ่นหอม ใบเตยมี 2 ชนิดคือเตยหอม และเตยธรรมดา ใบเตยหอมจะมีขนาดเล็กกว่าเตยทั่วไป ก่อนนำไปใช้ให้ล้างให้สะอาด แล้วหั่นหยาบจะโขลก หรือปั่นให้ละเอียดก็ได้ แล้วนำมากรอง เอากากออกได้น้ำใบเตยสีเขียวเข้ม |
หัวกะทิ |
กะทิสด ได้จากการขูดมะพร้าวแล้วนำมาคั้นจะได้ 2 ส่วนคือ หัวกะทิ หรือส่วนที่เข้มข้น หางกะทิ คือส่วนที่เจือจาง นิยมทำจากมะพร้าวขูดขาว คือมะพร้าวที่กะเทาะเนื้อจากกะลา แล้วปอกเปลือกส่วนที่เป็นสีน้ำตาลออก เมื่อนำไปขูดจะได้มะพร้าวที่ขาวสะอาด กราเลือกซื้อควรซื้อร้านที่ดี เพื่อให้ได้กะทิสดใหม่มีกลิ่นหอม ถ้ามะพร้าวเก่าจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ประกอบอาหารจะมีกลิ่นและรสไม่่ดี |
น้ำตาลทราย |
น้ำตาลทราย ทำจากอ้อย มีรสหวานแหลม มีทั้งเม็ดละเอียด และเม็ดหยาบ นิยมใช้น้ำตาลทรายขาว เพื่อให้อาหารมีสีสวย ใสไม่ขุ่นมัว โดยสามารถนำมาทำน้ำเชื่อมและใช้ประกอบอาหารได้เช่นกัน |
แป้งถั่วเขียว |
แป้งถั่วเขียว หรือแป้งซ่าหรี่ม เป็นแป้งที่สกัดมาจากถั่วเขียว เมื่อทำให้สุกจะมีลักษณะค่อนข้างใส เมื่อพักตัวให้เย็นจะจับตัวแข็งเป็นก้อน อยู่ตัว ค่อนข้าวเหนียว เหมาะกับอาหารที่ต้องการความใสอยู่ตัว |
แป้งข้าวเจ้า |
แป้งข้าวเจ้า หรือ แป้งญวน เป็นแป้งที่ทำมาจากข้าว เป็นแป้งที่ใช้มากที่สุดในการทำขนมไทย ในสมัยก่อนใช้แป้งสดที่โม่จากข้าวสารแช่น้ำค้างคืน นำแป้งที่ได้จากการโม่มาทับน้ำออก ก็จะได้แป้งที่พร้อมนำไปทำขนม ปัจจุบันนิยมใช้แป้งแห้งที่ผลิตจากโรงงาน เนื้อแป้งข้าวเจ้ามีลักษณะสากมือ ถ้าเป็นข้าวใหม่จะมีกลิ่นหอมดูดน้ำได้น้อย ถ้าใช้แป้งข้าวเจ้าสดจะต้องลดน้ำ จากสูตรแป้งข้าวเจ้าสำเร็จรูป |
ประวัติขนมใส่ไส้ประยุกต์
ขนมใส่ไส้ หรือขนมสอดไส้ เป็นขนมไทยโบราณ มักใช้ในงานพิธีหมั้น เพื่อเป็น 1 ในขนม 9 อย่าง ที่ใส่ในขันหมากโทคู่ขันหมากเอก ในขบวนแห่ขันหมากเพื่อไปสู่ขอเจ้าสาว มีลักษณะเป็นขนมที่ใช้แป้งข้าวเหนียวขาวและแป้งข้าวเหนียวดำ ห่อหุ้มไส้ข้างใน ทำจากมะพร้าวเคี่ยวน้ำตาล หยอดด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ และเกลือ ที่กวนสุก แล้วห่อด้วยใบตองให้เป็นทรงสูงคาดด้วยทางมะพร้าว จะได้ขนมที่มีกลิ่นหอม ไส้หวาน เค็มมันด้วยกะทิที่ข้นมัน
เนื่องจากต้องกวนไส้ กวนกะทิ และนำไปนึ่งให้สุก ซึ่งจะผ่านความร้อนถึง 3 ครั้ง คนโบราณจึงมักเรียกขนมนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ขนม 3 ไฟ สำหรับที่มาที่ไป ที่แน่ชัดนั้นไม่ปรากฏ แต่คาดว่าน่าจะเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในครัวเรือนที่ปลูกต้นมะพร้าวจำนวนมาก เมื่อเหลือจากรับประทานในชีวิตประจำวันแล้ว จึงได้นำมาทำเป็นขนมไว้รับประทาน และจำหน่ายยังชุมชนอื่น ๆ โดยชุมชนที่ขึ้นชื่อเรื่องการทำขนมสอดไส้ในปัจจุบัน ก็คือ ชุมชนตำบลหนามแดง อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา
อยากรู้สูตรเด็ดเคล็ดลับรสรินทร์ตอนใหม่ๆ อย่าลืมกดไลค์แฟนเพจรสรินทร์ นะคะ
รับรองว่า คุณจะทำอาหารได้อร่อยจนคนทั้งบ้านชมไม่ขาดปากเลยค่ะ
ขอบคุณที่ติดตามเพจ รสรินทร์ Rosalyn นะคะ
Facebook: RosalynTH
ดูสูตรเด็ดอื่นๆ หน้าหลักรสรินทร์[vc_row][vc_column][vc_single_image image=”1894″ img_size=”full” alignment=”center” onclick=”custom_link” link=”https://store.line.me/stickershop/product/5353487/en”][/vc_column][/vc_row]
Food vector created by photographeeasia – www.freepik.com
Views: 12,854