ราเมง รวมเมนูราเมงห้ามพลาดเส้นดีน้ำซุปเด็ด
ราเมง (ラーメン, Ramen, Shina Soba, Chūka Soba, Ramyeon, 라면) เป็นก๋วยเตี๋ยวของญี่ปุ่น ที่ปรากฏหลักฐานครั้งแรกในปี 1910 เมื่อพ่อครัวชาวจีนผสมบะหมี่เข้ากับน้ำซุปรสเค็ม เส้นบะหมี่เหนียวนุ่มยาว สีเหลืองทองสดใส ผสมผสานกับ น้ำซุปต่างๆ ราเมงก็ได้ถือกำเนิดขึ้น ณ จุดนั้น และชาวญี่ปุ่นก็ได้หัดทำเส้นบะหมี่ จากแป้งสาลีที่นวดด้วยน้ำแร่ (โซเดียมคาร์บอเนต) หรือที่เรียกกันว่า คันซุย Kansui
ราเม็ง ได้มาจากการออกเสียงของภาษาจีนคำว่าลาเมี่ยน Lamian เพี้ยนเป็น ราเมง และในปี 1958 นั้นบริษัทนิสชินฟูดส์ ได้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปครั้งแรกเป็นน้ำซุปไก่รสเรียกว่า Chickin Ramen ไม่นานนักราเมนก็เริ่มส่งออกไปทั่วโลก ราเมนควรปรุงแบบ อัลเดนเต้ และรับประทานอย่างรวดเร็วในขณะที่ยังร้อนอยู่ ไม่แนะนำให้ทิ้งบะหมี่ไว้ในน้ำซุปนานเกินไป เนื่องจากบะหมี่มักจะ อืดนิ่มและเละเกินไป
น้ำซุปราเมงของญี่ปุ่น จะมีสองลักษณะคือ น้ำซุปแบบเข้มข้น หรือ kotteri และแบบใส รสชาติเบาทานง่าย หรือ assari/paitan ขึ้นอยู่กับการเคี่ยวกระดูก ส่วนมากน้ำซุปราเมงมักจะทำขึ้นจาก น้ำต้มกระดูก หรือ อาหารทะเลแห้ง ผสมกับ หัวหอม กระเทียม ขิง ต้นหอม และเห็ด เป็นต้น
ราเมงที่มีชื่อเสียงของนั้นมีหลากหลาย ที่ดังๆมาจากเกาะคิวชู เป็นซุปข้นสีขาวเรียกว่า ทงคตสึราเมง และราเมงของฮอกไกโด ปรุงน้ำซุปด้วยมิโสะแดงซึ่งเป็นสูตรเด็ดต้นตำรับ
ส่วนประกอบของราเมง
ราเมงจะอร่อยไม่อร่อยมาจากส่วนประกอบสามอย่างคือ ซุป เส้น และ เครื่องเคียง
- ซุป เป็นหัวใจของราเมน เลยก็ว่าได้ดังที่กล่าวไปข้างต้น ซุปแบ่งได้เป็นซุปแบบเข้มข้น และแบบใสคล่องคอ มักเคี่ยวจาก หมู ไก่ วัว ปลา และ สาหร่ายคอมบุ มีการใส่เครื่องปรุงต่างๆ แต่ละร้านมีสูตรลับมากมาย มักจะเคี่ยวเป็นเวลาหลายชั่วโมง
- เส้นราเมง ราเมงหลัก ๆ มีสองประเภทคือ เส้นชิจิเระ เส้นราเมงแบบหยัก และเส้นตรง ทั้งนี้ความหนาบางจะแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่
- เครื่องเคียงท๊อปปิ้ง มีความหลากหลาย แต่ละร้านมีการปรุงสูตรเด็ดลับเฉพาะของแต่ละร้าน โดยเฉพาะเนื้อหมูชาชู ไข่ต้ม ต้นหอม หน่อไม้ คะมะโบโกะ (ลูกชิ้นปลา) ข้าวโพด ตามแต่เชฟจะจินตนาการรังสรร ให้เข้ากับสูตรเด็ดเคล็ดลับแต่ละร้าน
มาเลือกสั่งราเมงกันเลย รวมเมนูราเมงเส้นดีซุปเด็ด
1. ทงคตสึราเมน Tonkotsu ramen 豚骨ラーメン
ทงคตสึราเมน Tonkotsu ramen 豚骨ラーメン สไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งประกอบด้วยน้ำซุปหมูเข้มข้น บะหมี่สด ต้มยางมะตูมดูน่ากิน และชาชูเนื้อนุ่มที่ละลายในปาก เป็นที่นิยมมากสูตรดั้งเดิมมาจากฟุกุโอกะ และได้แตกแขนงดัดแปลงสูตรราเมงฉบับนี้ไปทั่วทุกจังหวัดของญี่ปุ่น
ทงคตสึราเม็งมักจะโรยหน้าด้วยต้นหอม เพื่อความสดชื่นและความกระปรี้กระเปร่า หน่อไม้รสกรุบกรอบ สาหร่ายโนริเพื่อกลิ่นที่ลงตัว และข้าวโพดหวานเพื่อรสชาติที่ดียิ่งขึ้น น้ำซุปเข้มข้นได้รับการพัฒนาโดยการเคี่ยวกระดูกหมูเป็นเวลานานมากจนคอลลาเจนและไขมันละลายลงในน้ำซุป ทำให้ได้ซุปที่เข้มข้นสีขาว ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในหลายปีที่ผ่านมา หลายๆร้านจะมีการเพิ่มน้ำมันรายุ (น้ำมันพริก) ลงไปเพื่อเพิ่มมิติรสชาติ ให้อร่อย เข้มข้นยิ่งขึ้น
2. ทสึเคเมง Tsukemen つけ麺
ทสึเคเมง Tsukemen つけ麺 หรือบะหมี่เย็น ราเมงสไตล์โตเกียว กับวิธีรับประทานที่ไม่เหมือนใคร โดยจะใช้บะหมี่เย็นจุ่มลงในซุป หรือซอสที่เสิร์ฟร้อนในถ้วยแยกต่างหาก เส้นบะหมี่ยังสามารถจุ่มในน้ำส้มสายชู หรือปรุงรสด้วยซอสพริกก่อนรับประทานก็อร่อยมากเช่นเดียวกัน
ต่างจาก ราเม็ง ที่ลวกเส้นบะหมี่ในชามน้ำซุป ซึเคเม็งต้องลวกเส้นแล้วล้างเส้นด้วยน้ำเย็นก่อน จะทำให้เส้นไม่อืด ว่ากันว่าซึเคเม็งเหมาะสำหรับฤดูร้อนเพราะให้ลิ้มลองรสชาติที่ยอดเยี่ยมของราเม็งโดย ไม่ทำให้ร่างกายร้อนขึ้น
ทสึเคเมงถูกปรุงขึ้นในปี 1955 โดย Yamagishi Kazuo เชฟที่ร้านอาหาร Taishoken Ramen ซึ่งมาจากการที่เขากินบะหมี่พร้อมกับน้ำซุปที่เหลือและซีอิ๊ว ด้วยการปรับสูตรจนลงตัว ในที่สุดเขาก็เอาออกมาเป็นเมนูที่เรียกว่า โทคุเซ โมริโซบะ และตั้งแต่นั้นมา จานนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างท่วมท้นไปทั่วประเทศ
3. มิโสะราเมง Miso ramen 味噌ラーメン
มิโสะราเมง Miso ramen 味噌ラーメン มิโซะราเมนเป็นอาหารที่มีรสชาติกลมกล่อมปรุงด้วยมิโซะ น้ำซุป และผักที่ผัดในกระทะ จากนั้นโรยด้วยถั่วงอก หมูสับ กระเทียม ข้าวโพดหวาน และ อาหารทะเล เช่น ปู หอยทาราบะ และปลาหมึก ชามนี้ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1955 ในเมืองซัปโปโร เมื่อลูกค้าใน ร้านบะหมี่ที่ชื่อ Aji no Sanpei ขอให้พ่อครัวใส่บะหมี่ลงในหมูและซุปมิโซะของเขา
ในช่วงทศวรรษที่ 1960 กระแสความนิยมของมิโซะราเม็งได้พุ่งสูงขึ้น และซัปโปโรยังคงเป็นสวรรค์สำหรับคนรักราเม็ง และนักชิมต้องไม่พลาดกับ ตรอกราเม็งที่มีร้านราเม็งกว่าสิบร้านกระจายอยู่ตามถนน
4. โชยุราเมง Shoyu ramen 醤油拉麺, 醤油ラーメン
โชยุราเมง Shoyu ramen 醤油拉麺, 醤油ラーメン โชยุราเม็นเป็นหนึ่งในสี่จตุราชาราเมง เมนูราเม็งที่ได้รับการยกย่องในรสชาติอันยอดเยี่ยม เส้นบะหมี่ น้ำซุป และท็อปปิ้งต่างๆ เป็นสามองค์ประกอบสำคัญที่ลงตัวในราเม็งทุกชาม ด้วยน้ำซุปรสเข้มข้นและเค็มของโชยุทำให้ชามนี้รสชาติแตกต่างจากชามอื่นๆ อันมีต้นกำเนิดจากโตเกียว
โชยุราเมงมักจะใช้น้ำซุปเนื้อ หรืออาหารทะเล ซึ่งเคี่ยวผสมผสาน จนหอมกรุ่นของน้ำซุปคอมบุและซีอิ๊ว บะหมี่เส้นสดแบบหยัดมักใช้ในโชยุราเมน โดยจะปรุงแยกกัน เวลาเสิร์ฟจะลวกใส่ในชามและราดด้วยน้ำซุปโชยุเข้มข้น ก่อนวางเรียงหน้าด้วยท๊อปปิ้งแสนอร่อย ส่วนมากจะประกอบไปด้วย เนื้อหมูชาชู หน่อไม้ โบโกะ ลูกชิ้นปลา หัวหอม และไข่ต้ม ความสนุกของชามนี้คือสามารถปรับเปลี่ยนและเพิ่มท็อปปิ้งได้หลากหลาย ตามความชอบส่วนตัว
5. ชิโอะราเมง Shio ramen 塩ラーメン
ชิโอะราเมง Shio ramen 塩ラーメン ชามนี้โดดเด่นด้วยการใช้เกลือเป็นเครื่องปรุงรสหลักในน้ำซุป เป็นหนึ่งในจตุราชาแห่งราเม็ง เช่นเดียวกับราเม็งอื่นๆ ที่ผสมผสานองค์ประกอบสำคัญสามประการ ได้แก่ น้ำซุปรสอร่อย บะหมี่เหนียวนุ่ม และท็อปปิ้งต่างๆ
แม้ว่าจะมีการใช้ซุปกระดูกหมูบ้างในบางสูตร แต่ส่วนใหญ่ใช้น้ำซุปชิโอะมักจะเคี่ยวจากอาหารทะเล หรือไก่ ซึ่งให้น้ำซุปที่มีรสเบาและใส มีรสเค็มไม่เข้มข้นนัก น้ำซุปมักจะจับคู่กับเส้นแบบตรงและเล็ก และท๊อปด้วยหมูสามชั้นสไตล์ญี่ปุ่นที่รู้จักกันในชื่อ ชาชู โรยด้วยต้นหอม ไข่ต้ม และสาหร่ายวากาเมะ
เนื่องจากเกลือเป็นเครื่องปรุงรสที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้ปรุงรสราเม็ง ชิโอะราเมงถือเป็นราเม็งที่เก่าแก่ที่สุด และถึงแม้จะไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน แต่หลายคนเชื่อว่ามันถูกคิดค้นขึ้นในฮาโกดาเตะ ซึ่งยังเป็นที่ที่มีชิโอะราเม็งขายอย่างแพร่หลาย ตราบจนปัจจุบัน
6. ฮากาตะราเมง Hakata ramen 博多ラーメン
ฮากาตะราเมง Hakata ramen 博多ラーメン ฮากาตะราเมงเป็นหนึ่งในราเม็งที่มีชื่อเสียงที่สุดในญี่ปุ่น เบสของน้ำซุปคือทงคตสึ ซุปกระดูกหมูสีขาวข้นที่มีรสชาติที่เข้มข้น และมีรสซับซ้อนอย่างไม่น่าเชื่อ มักจะปรุงรสด้วยชิโอะ (เกลือ) เท่านั้น แต่บางครั้งก็ใช้โชยุ (ซีอิ๊ว) และมิโซะ (เต้าเจี้ยวหมัก)
โดยทั่วไปแล้ว ฮากาตะราเมนจะเสิร์ฟพร้อมกับเส้นบะหมี่แบบบางเฉียบ เส้นตรง และเหนียวนุ่ม แม้ว่าจะสามารถเลือกความหนาของเส้นบะหมี่ได้ตามความชอบของแต่ละคน ราเงจะท๊อปด้วยหมูชาชูชิ้นบางๆ และหัวหอมซอย ส่วนน้ำซุปอื่นๆ เครื่องปรุงอื่นที่สามารถปรุงในน้ำซุปก็เช่น มัสตาร์ดรสเผ็ด ,ไข่ต้ม ,เห็ดหูหนู ,เบนิโชกะ (รากขิงดอง) ,กระเทียม ,ถั่วงอก ,น้ำมันรายุ และเมล็ดงาคั่วบด
ราเม็งชามนี้ได้ชื่อมาจากอดีตเมืองท่าและย่านการค้าของฮากาตะ ซึ่งในปี 1889 ได้ถูกรวมเข้ากับเมืองฟุกุโอกะ
7. จัมปง Chanpon ちゃんぽん
จัมปง Chanpon ちゃんぽん เป็นอาหารประเภทราเมงญี่ปุ่น เป็นจานของขึ้นชื่อของนางาซากิที่ ทำจากหมูผัด อาหารทะเล และผักต่างๆผัดกับน้ำหมู จากนั้นใส่ซุปกระดูกหมูไก่ และต้มเส้นหมี่ให้เข้ากัน ชามนี้มีพื้นฐานมาจากการทำอาหารจีนและได้รับแรงบันดาลใจจากอาหารที่มาจากจังหวัดฝูเจี้ยนของจีน
ชื่อของจัมปง Champon มาจากคำว่า ฝูเจี้ยน shapon หมายถึงการกินอาหาร เดิมทีเสิร์ฟในนางาซากิ เพื่อเป็นอาหารราคาไม่แพงสำหรับนักศึกษาในเมือง แรกเริ่มเดิมทีนั้นเป็นส่วนผสมจะใส่เพียงหมูและหน่อไม้ แต่ในที่สุดก็ใส่ท๊อปปิ้งอื่นๆเข้ามาเพิ่ม เช่นปลาหมึก หอยนางรม และกุ้ง
8. ฮิยาชิ ชูกะราเมง Hiyashi chūka 冷やし中華, 冷やしラーメン
ฮิยาชิ ชูกะราเมง Hiyashi chūka 冷やし中華, 冷やしラーメン ประกอบด้วยบะหมี่เย็น เส้นราเมนสีเหลืองอ่อน มากับซอสและเครื่องเคียงหลากหลายเช่นไข่ทอด, แตงกวาดอง และแฮมหั่นบาง ๆ จัดวางอย่างประณีต ชื่อของจานนี้แปลมาจากภาษาจีนว่า เป็นอาหารจีนแช่เย็น
เมนูนี้เป็นการผสมผสานของอาหารญี่ปุ่น จีน และอาหารตะวันตก ฮิยาชิ ชูกะ โดดเด่นด้วยการจัดวางและการนำเสนออย่างปราณีตพิถีพิถัน และนอกเหนือจากแตงกวา แฮม และไข่ดาว ท็อปปิ้งอื่นๆก็สามารถทดแทนได้เช่นกัน เช่นแครอท มะเขือเทศ ขิง และถั่วงอก เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว ฮิยาชิ ชูกะจะไม่นิยมวางขายตลอดทั้งปี เมื่อใดก็ตามที่ได้เห็นจานนี้ในร้านอาหาร ก็จะเป็นสัญญาณว่าฤดูร้อนได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
9. คิตะคะตะ ราเมง Kitakata ramen 喜多方ラーメン
คิตะคะตะ ราเมง Kitakata ramen 喜多方ラーメン มีลักษณะโดดเด่นโดยจะมีเส้นเส้นหนา แบน และหยัก เสิร์ฟในน้ำซุปที่มีโชยุเข้มข้น ซึ่งปกติจะปรุงด้วยนิโบชิ และทงคตสึ (กระดูกหมู) ซอสโชยุ และนิโบชิถูกนำมาใช้คิตะคะตะ ราเมง เนื่องจากเป็นของดีประจำแถบคิตากาตะมานานหลายศตวรรษ และคุณภาพของทั้งนิโบชิและซีอิ๊วก็ค่อนข้างสูง
หลังจากใส่เส้นบะหมี่ลงในน้ำซุปแล้ว ก็จะท๊อปด้วยต้นหอม หมูย่างชาชูหั่นบางๆ ,นารูโตะ และหน่อไม้ดอง ที่น่าสนใจคือเมืองคิตะคะตะ มีร้านราเม็งที่เปิดต่อประชากรสูงสุดในญี่ปุ่น และในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีจะมีงานเทศกาลราเมง ของเมืองซึ่งจะรวมรวมช่างทำราเม็งที่มีชื่อเสียง ได้แสดงทักษะด้านราเม็งให้ได้ชมเป็นขวัญตา และลองลิ้มชิมรส
10. อะบุระโซบะ Abura soba 油そば
อะบุระโซบะ Abura soba 油そば เป็นราเม็งที่มีต้นกำเนิดจากเขตคิตะทาทามะ ของโตเกียวในปี 1950 เป็นราเมนแบบแห้ง โดยมีซีอิ๊วปรุงรสพิเศษด้วยน้ำมันหมู เสิร์ฟมาพร้อมเส้นแบบหนา และมักจะท๊อปปิ้งหน้าด้วยหมูชาชู หน่อไม้ดอง โนริฝอย ต้นหอมซอย กระเทียมสับ และปรุงรสด้วยน้ำมันพริกรายุ และน้ำส้มสายชู นอกจากนี้ยังมีท็อปปิ้งอื่นๆ ให้สั่งได้เพิ่มเติมเช่น ไข่ต้ม ชีส ผักดอง งา หรือพริกไทยดำ จัดได้ว่าร้านราเม็งหลายแห่งทั่วโตเกียวก็มีเมนูนี้ให้สั่งกันได้ทั่วไป
11. ราเมนสไตล์โยโกฮามา Yokohama-Style Ramen 家系ラーメン
ราเมนสไตล์โยโกฮามา Yokohama-Style Ramen 家系ラーメン หรือ iekei ramen เป็นราเม็งแบบญี่ปุ่นที่มีต้นกำเนิดจากพื้นที่โยโกฮาม่า และย้อนหลังไปถึงปี 1974 ชามนี้ประกอบด้วยบะหมี่เส้นหนาและน้ำสต็อกที่มีส่วนผสมของทงคตสึซุป (น้ำซุปกระดูกหมู) และซอสโชยุ ท็อปปิ้งประกอบด้วยหมูชาชู สาหร่าย ต้นหอมซอย และผักโขม
นอกจากนี้ยังมีท็อปปิ้งและเครื่องปรุงรสเสริม เช่น กระเทียมสับ งา ผักดอง และพริกไทยดำ ชื่อของจานหมายถึงราเม็งแบบโฮมเมด ถูกรังสรรค์ขึ้นโดยอดีตคนขับรถบรรทุกชื่อคุณโยชิมูระ ซึ่งเปิดร้านราเมงของตัวเองในปี 1974
12. อาซาฮิกาวะ ราเมง Asahikawa ramen 旭川ラーメン
อาซาฮิกาวะ ราเมง Asahikawa ramen 旭川ラーメン มีลักษณะเฉพาะด้วยน้ำซุปที่ทำจากโชยุ ทานกับเส้นแบบหยิก เหนียมนุ่ม น้ำซุปมักจะปรุงด้วยสาหร่ายทะเล ปลาแห้ง กระดูกหมู และไก่ และท็อปปิ้งที่นิยมที่สุดสำหรับราเม็งอาซาฮิกาวะ ได้แก่ หมู หน่อไม้ ไข่ และต้นหอม
ราเมงชามนี้มีต้นกำเนิดจากเมืองฮอกไกโด และเพื่อรับมือกับสภาพอากาศหนาวเย็นของที่นั่น เชฟจะเพิ่มน้ำมันหมูเลอบหน้าพื่อสร้างชั้นไขมัน ที่ป้องกันไม่ให้ราเม็งเย็นลงเร็วเกินไป และที่น่าสนใจคือบริเวณชานเมืองมีร้านราเม็งชื่อดัง 8 ร้านตั้งอยู่ติดกันเรียกว่าหมู่บ้านอาซาฮิกาวะราเม็ง
13. คุมาโมโตะ ราเมง Kumamoto ramen 熊本ラーメン
คุมาโมโตะ ราเมง Kumamoto ramen 熊本ラーメン แม้ว่าแต่มีการคิดค้นราเม็ง ออกมาหลากแบบหลายสไตล์ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่คุมาโมโตะราเม็งได้พัฒนาเป็นสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง โดดเด่นด้วยเส้นบะหมี่ที่เส้นหนานุ่ม เสิร์ฟในน้ำซุปทงคตสึเข้มข้น สีขาวนวล ที่เคี่ยวจากกระดูกหมูข้ามคืน น้ำซุปของคุมาโมโตะราเมง จะไม่มันเท่าฮากาตะราเม็ง ทำให้ราเม็งชามนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับน้ำซุปรสจัด เข้มข้น แต่จะเป็นการผสมผสานร่วมมือกันของรสชาติ กระเทียมเจียว และน้ำมันงา ทั้งสองอย่างเข้ากันได้ดีกับเส้นบะหมี่สุดๆ ไปเลยล่ะค่ะ
14. โอโนมิจิ ราเมง Onomichi ramen 尾道ラーメン
โอโนมิจิ ราเมง Onomichi ramen 尾道ラーメン ประกอบด้วยน้ำซุปที่ใช้โชยุ ปรุงด้วยหมูปรุงรส และอาหารทะเลจากทะเลเซโตะ ไก่ หรือดาชิ น้ำซุปจะเสิร์ฟร้อน มากับเส้นบะหมี่แบบแบน ที่มีความหนาปานกลาง และเสิร์ฟพร้อมกับซีบุระ (ไขมันหลังหมู)
ท็อปปิ้งอาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่โดยทั่วไปจะมีต้นหอมซอย หมูชาชู และหน่อไม้ ราเมงชนิดนี้ออกขายครั้งแรกในปลายทศวรรษที่ 1940 แต่ราเม็งโอโนะมิจิ เพิ่งได้รับความนิยมในปี 1990 กระนั้นมันยังคงเป็นอาหารสุดพิเศษของชาวโอโนะมิจิ
15. ทาคายามะ ราเมง Takayama ramen 高山ラーメン’
ทาคายามะ ราเมง Takayama ramen 高山ラーメン’ เป็นราเมงยอดนิยม น้ำซุปที่ทำจากกระดูก ผัก และ คัตสึโอะบุชิ (ปลาโอแห้ง) รสและกลิ่นจะเพลิดเพลินไปด้วยโชยุ และมิโซะ แต่ละร้านจะมีสูตรลับน้ำซุปสูตรเด็ดที่บอกกันไม่ได้ เส้นจะบางนุ่มเหนียวเคี้ยวมัน
ส่วนท๊อปปิ้งที่มักจะนิยมใส่มากที่สุดคือ ต้นหอมซอยบางๆ ที่ปลูกในแถบนั้นเรียกว่า hida negi รสชาติจะหวาน ไม่เหมือนปลูกจากที่อื่น มากับหมูชาชู สไลด์มาเป็นแผ่นบางๆ หน่อไม้ดอง ถึงแม้ว่าน้ำซุปจะเป็นแบบใส แต่รสชาตินั้นกลับซับซ้อ มีมิติลุ่มลึก เต็มไปด้วยรสอุมามิค่ะ
16. คาโกชิมะ ราเมง Kagoshima ramen 鹿児島ラーメン
คาโกชิมะ ราเมง Kagoshima ramen 鹿児島ラーメン เป็นราเมงแบบทงคตสึเข้มข้น มีต้นกำเนิดจากจังหวัดคาโกชิมะ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น เป็นราเมงที่คนในท้องถิ่นชอบมาก แต่ไม่เป็นที่นิยมในส่วนอื่นของประเทศ ซุปของราเม็งเป็นน้ำซุปทงคตสึ ขาวขุ่น เข้มข้น เคี่ยวจากกระดูกหมู และกระดูกไก่ ผัก ปลาแห้ง สาหร่ายคอมบุ และเห็ด
เส้นบะหมี่ที่ใช้นิยมใช้กัน 2 แบบคือ เส้นหนานุ่มจากเกาะโอกินาว่า และเส้นบางเฉียบ คล้ายวุ้นเส้นของไต้หวัน เมื่อประกอบร่างเส้นบะหมี่เข้ากับน้ำซุป จะไปกันได้ดีกับ ไชเท้าดอง หรือ ผักกาดดอง
17. วากายยามะ ราเมง Wakayama ramen 和歌山ラーメン
วากายยามะ ราเมง Wakayama ramen 和歌山ラーメン เป็นราเม็งสไตล์โตเกียว ที่เสิร์ฟในน้ำซุปสูตรเฉพ่ะแถบโทคุชิมะ ในวาคายามะ มักเรียกกันว่าชุกะโซบะ (บะหมี่จีน) เส้นบะหมี่ที่ใช้ในวาคายามะราเมนนั้นเป็นแบบเส้นบางและตรง ในขณะที่ซุปเป็นแบบใสและปรุงรสด้วยโซยุ ( สไตล์ ชาโกะ-มาเอะ ) หรืออาจประกอบด้วยส่วนผสมของทงคตสึและโชยุก็ได้
ซี่โครงหมูเป็นท๊อปปิ้งยอดนิยมในราเม็งวาคายามะ และนี้มักจะเสิร์ฟพร้อมกับไข่แดงมะตูมเยิ้มๆ แทนที่จะเป็นไข่ดิบ ที่น่าสนใจคือ ราเมนวาคายามะมักจะเสิร์ฟพร้อมกับซูชิด้วยเสมอ และเมื่อถึงเวลาต้องจ่ายเงิน ลูกค้าจะบอกพนักงานว่าได้ทานเครื่องเคียงเหล่านั้นกี่จาน
18. โทคุชิมะ ราเม็ง Tokushima ramen 徳島ラーメン
โทคุชิมะ ราเม็ง Tokushima ramen 徳島ラーメン เปิดตัวครั้งแรกที่ญี่ปุ่นในปี 1999 ในงานแสดงสินค้าในพิพิธภัณฑ์ราเม็งที่ ชิน-โยโกฮาม่า น้ำซุปอาจเป็นสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีขาว ขึ้นอยู่กับส่วนผสมหลักสำหรับน้ำซุปทุกชนิด มักใช้กระดูกหมู กระดูกไก่ และผักเคี่ยวรวมกัน
แต่โดยส่วนใหญ่ น้ำซุปมักจะมีสีน้ำตาลเข้ม ทำให้ราเม็งมีรสชาติเข้มข้นและกลมกล่อม เมนูราเม็งโทคุชิมะส่วนใหญ่ จะเสิร์ฟท๊อปด้วยไข่ดิบ ต้นหอมและถั่วงอก แต่คนท้องถิ่นแนะนำมาว่าให้กินราเมงโทคุชิมะ กับข้าวสวยร้อนๆ
19. ตันตันเมง ราเมง Tantanmen Ramen
ตันตันเมง ราเมง Tantanmen Ramen เป็นเมนูที่ได้รับอิทธิพลมาจาก บะหมี่เสฉวน ที่เรียกกันว่า บะหมี่ตันตัน ส่วนประกอบของราเม็งทำจาก เส้นบะหมี่ราเม็ง น้ำซุป และหมูบดปรุงรสเป็นท๊อปปิ้ง น้ำซุปมีรสเผ็ดและเข้มข้น ปรุงด้วยน้ำมันพริก (รายุ) นมถั่วเหลือง และงาคั่ว (ชิมาจัง)
ส่วนผสมในราเมนนี้ ได้แก่ กระเทียม หัวหอม ขิง ซอสถั่วดำ ถั่วลิสงบดหรือเนยถั่ว และผักโขม วิธีทำพ่อครัวจะลวกเส้นราเม็งที่ปรุงแล้วลงในชาม แล้วราดด้วยน้ำซุป หมูบด ต้นหอมซอย และถั่วงอก และส่วนผสมที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี
20. โทยามะ แบล็คราเมง Toyama Black Ramen 富山ブラックラーメン
โทยามะ แบล็คราเมง Toyama Black Ramen 富山ブラックラーメン เป็นราเมงที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว ด้วยซุปสีดำสนิทนี้ทำจากซีอิ๊วดำรสเค็ม เสริฟพร้อมเส้นบะหมี่ น้ำสต๊อกไก่และปลา และหมูชาชูที่เคี่ยวอย่างพิถีพิถัน ถูกเสิร์ฟโดยร้านอาหารชื่อไทกิในปี 1947
ระดับความเค็มขึ้นอยู่กับสูตรของแต่ละร้าน โทยามะราเม็งมักจะใส่พริกไทย และเนงิขูดฝอย (ต้นหอมญี่ปุ่น) ไว้ด้านบน ในปี 1950 คนงานก่อสร้างในโทยามะเริ่มทำราเม็งในแบบฉบับพวกเขาเอง และเนื่องจากพวกการทำงานที่เหน็ดเหนื่อยทำให้มีเหงื่อออกมาก ราเมงจึงตั้งใจทำให้เค็มมากขึ้นเพื่อชดเชยเกลือแร่ที่สูญเสียไป โดยทั่วไปราเมนสีดำในปัจจุบันนี้ มักจะเสิร์ฟพร้อมกับข้าวหรือไข่ดิบ มาด้วยเสมอ
21. โคกาชิ ราเมง Kogashi ramen 古河ラーメン
โคกาชิ ราเมง Kogashi ramen 古河ラーメン เป็นราเม็งแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น มักทำมาจากส่วนผสมของหมูชาชูสไลซ์ น้ำมันหมู กะหล่ำปลี นารุโตะ ไข่ลวก สาหร่ายโนริย่าง โชยุหรือมิโซะ และน้ำซุปรสชาติเข้มข้น
เมนูนี้มีต้นกำเนิดมาจากฮากาตะ เปิดตัวในปี 2000 โดย Shigemi Kawahara น้ำซุปมีสีดำ เข้มข้น ขมเล็กน้อย และเต็มไปด้วยรสอูมามิ อันเป็นลักษณะเด่นของราเม็งนี้ เส้นบะหมี่จะต้องใช้แบบหนาขึ้นเล็กน้อยเพื่อ เข้ากันกับความเข้มข้นของน้ำซุปสีดำนี้
22. มูโรรันเคอร์รี่ราเม็ง Muroran Curry Ramen 室蘭カレーラーメン
มูโรรังเคอร์รี่ ราเม็ง Muroran Curry Ramen 室蘭カレーラーメン เป็นบะหมี่รสแกงกะหรี่ญี่ปุ่นที่มีต้นกำเนิดมาจากย่านมุโระรัง ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1965 ที่ร้านอาหารอาจิ โนะไดโอ มีร้านราเม็งประมาณ 30 แห่งที่ขายราเม็งแกงกะหรี่ในเมืองมุโระรัง แต่ที่ร้านต้นฉบับอาจิ โนะ ไดโอะยังคงเป็นที่นิยมและเป็นที่รู้จักมากที่สุด
เมนูนี้ประกอบด้วยหมูย่างสไลซ์ หรือหมูสับปรุงรส หัวหอมใหญ่ กะหล่ำปลี ถั่วงอกผัด สาหร่ายแห้ง และไข่ต้ม มาพร้อมกับเส้นบะหมี่แบบหนานุ่ม ที่ทำจากแป้งส่งตรงจากฮอกไกโด รวมทั้งน้ำซุปรสแกงเผ็ดเข้มข้น และแม้ว่ามุโรรังราเมง จะถูกคิดค้นมากกว่า 50 ปีแล้ว แต่เพิ่งจะได้รับความนิยมมากจากการโปรโมทของน้องนัทซึมิ อาเบะ นักร้องดังในวงมอร์นิ่ง มูซูเมะ Morning Musume
23. ซากาตะ ราเม็ง Sakata Ramen
ซากาตะ ราเม็ง Sakata Ramen เป็นราเมงแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม มีต้นกำเนิดจากเมืองซากาตะในจังหวัดยามากาตะ สิ่งที่ทำให้ราเม็งนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือเส้นบะหมี่แบบโฮมเมด ซึ่งทำขึ้นในร้านอาหารท้องถิ่นประมาณ 80% เส้นบะหมี่โฮมเมดแบบเส้นบางและหยัก จะเสิร์ฟมาในน้ำซุปแบบง่ายๆ ที่ใช้ซีอิ๊ว ปรุงด้วยน้ำซุปของทะเล น้ำสต๊อกหมู และน้ำสต๊อกไก่ ตัวน้ำซุปราเมงมีความเข้มข้น กำลังพอดี บางร้านยังใส่เกี๊ยวลงในราเม็งซากาตะอีกด้วย น่าทานเป็นที่สุด
อยากรู้สูตรเด็ดเคล็ดลับรสรินทร์ตอนใหม่ๆ อย่าลืมกดไลค์แฟนเพจรสรินทร์ นะคะ
รับรองว่า คุณจะทำอาหารได้อร่อยจนคนทั้งบ้านชมไม่ขาดปากเลยค่ะ
ขอบคุณที่ติดตามเพจ รสรินทร์ Rosalyn นะคะ
Facebook: RosalynTH
ดูสูตรเด็ดอื่นๆ หน้าหลักรสรินทร์
ที่มาของข้อมูล: เทสแอทลาส
[vc_row][vc_column][vc_single_image image=”1894″ img_size=”full” alignment=”center” onclick=”custom_link” link=”https://store.line.me/stickershop/product/5353487/en”][/vc_column][/vc_row]